โคเออร์สนับสนุนกิจกรรมในพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก

   เพื่อให้เด็ก ๆ ซึ่งเป็นผู้หนีภัยฯ ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ทั้ง 9 แห่ง ได้มีพื้นที่ในการเรียนรู้อย่างอิสระตามจินตนาการของเด็กอย่างปลอดภัยและสร้างสรรค์ เกิดพัฒนาการและรู้จักการปรับตัวเข้ากับสังคม โคเออร์จึงก่อตั้งศูนย์พัฒนาการเด็กในชื่อพื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ด้วยการจัดให้มีพี่เลี้ยงดูแล มีอุปกรณ์การศึกษาและกีฬา ให้อย่างพอเพียงต่อการเรียนรู้และการละเล่นต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมให้เด็ก ๆ ที่เข้ามาใช้บริการได้เกิดพัฒนาการด้านการเติบโตและการเรียนรู้ที่สมวัยและมีทัศนคติในการใช้ชีวิตในเชิงสร้างสรรค์ มีเกียรติและศักดิ์ศรี รวมทั้งเติบโตขึ้นเป็นสมาชิกที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุมชน

   ตลอดเดือนมกราคม 2565 ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ ทั้ง 8 แห่ง (ยกเว้นบ้านนุโพ ในจังหวัดตากซึ่งยังอยู่ภายใต้มาตรการป้องกันโรคอย่างเคร่งครัด เป็นเหตุให้พื้นที่สร้างสรรค์เด็กปิดลง) มีเด็กเล็กจนถึงเยาวชนชายหญิง เข้ามาใช้บริการเรียนรู้และการละเล่นเป็นจำนวนมากกว่า 3,000 คน

พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านแม่หละ อ.ท่าสองยาง จ.ตาก

พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็กในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านอุ้มเปี้ยม อำเภอพบพระ จังหวัดตาก

พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านต้นยาง อำเภอสังขละบุรี จังหวัดกาญจนบุรี

พื้นที่สร้างสรรค์สำหรับเด็ก ในพื้นที่พักพิงชั่วคราวฯ บ้านถ้ำหิน อำเภอสวนผึ้ง จังหวัดราชบุรี